วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555

สื่อวีดีโอเกี่ยวกับสนามแม่เหล็กไฟฟ้า



สนามแม่เหล็กสามารถทำให้วัตถุลอยได้







แม่เหล็กและขดลวดสามารถสร้างพลังงานไฟฟ้าได้




 

สนามแม่เหล็กสามารถทำให้เกิดพลังงานกลโดยไม่สร้างมลพิษ 




 

เริ่มมีการใช้สนามแม่เหล็กไฟฟ้าในการเป็นแรงขับเคลื่อนล้อ








วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555

สนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กคืออะไร

What is the electric field and magnetic field.

            สนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก (Electric and Magnetic Field: EMFs) จะหมายถึงเส้นสมมุติที่เขียนขึ้นเพื่อแสดงอาณาเขตและความเข้มของเส้นแรงที่เกิดขึ้นระหว่างวัตถุที่มีความแตกต่างของศักย์ไฟฟ้าหรือแรงดันไฟฟ้า (เรียกว่า สนามไฟฟ้า) และที่เกิดขึ้นโดยรอบวัตถุที่มีกระแสไฟฟ้าไหล (เรียกว่า สนามแม่เหล็ก) ในกรณีกล่าวถึงทั้ง สนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กพร้อมกันมักจะเรียกรวมว่า สนามแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Field: EMF)หรือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กสามารถเกิดขึ้นได้ 2 ลักษณะคือ












1) เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ได้แก่ สนามแม่เหล็กโลกคลื่นรังสีจากแสงอาทิตย์   คลื่นฟ้าผ่า คลื่นรังสี
แกมมาเป็นต้น


2) เกิดขึ้นจากการสร้างของมนุษย์   แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ

                                                                                           
 
- แบบจงใจ  คือสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่จงใจ                               
สร้างให้เกิดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักที่จะใช้
ประโยชน์โดยตรงจากคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้า
ที่สร้างขึ้นนี้ เช่น ให้สามารถส่งไปได้ในระยะ
ไกลๆ ด้วยการส่งสัญญาณของระบบสื่อสาร
สัญญาณเรดาร์  คลื่นโทรศัพท์  คลื่นโทรทัศน์
และ คลื่นวิทยุ และการใช้คลื่นไมโครเวฟ
ในการให้ความร้อน เป็นต้น



 

- แบบไม่จงใจ  คือสนามแม่เหล็กไฟฟ้า
ที่เกิดจากการใช้งานอุปกรณ์  โดยไม่ได้มี
วัตถุประสงค์หลักที่จะใช้ประโยชน์
โดยตรงจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิดขึ้น
เช่น ระบบส่งจ่ายกำลังไฟฟ้า (สายส่งไฟฟ้า)
รวมถึงอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น 






3. สนามแม่เหล็กไฟฟ้ายังสามารถแบ่งออกเป็น  
                 
  
          -สนามแม่เหล็กไฟฟ้าสถิตที่ไม่มีการ
เปลี่ยนตามเวลา (Static Field หรือDC Field) 
ตัวอย่างเช่น  สนามไฟฟ้าระหว่างก้อนเมฆกับ
พื้นโลก  สนามแม่เหล็กจากแม่เหล็กถาวร  
สนามแม่เหล็กโลก เป็นต้น

ส่วนอีกประเภทคือสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่มี
การเปลี่ยนตามเวลา (Dynamic Field หรือ
AC Field) ตัวอย่างเช่น สนามแม่เหล็กไฟฟ้า
ที่เกิดจากระบบการส่งจ่ายกำลังไฟฟ้ากระแสสลับ
(50 Hz) และ ระบบสื่อสาร เป็นต้น


   






ความรู้เบื้องต้นที่ควรทราบเกี่ยวกับสนามแม่เหล็กไฟฟ้า



Introduction to note about the magnetic field.


       เส้นแรงแม่เหล็กไฟฟ้า

ประจุไฟฟ้าและเส้นแรงไฟฟ้า

ประจุไฟฟ้ามีทั้งประจุบวกและประจุลบ
โดยเส้นแรงไฟฟ้าของประจุบวกจะพุ่งออก
และของประจุลบจะพุ่งเข้าหา แสดงดังรูป
ด้านบน  ในที่ที่มีเส้นแรงไฟฟ้าเราเรียกว่ามี
สนามไฟฟ้า
     ทิศทางของเส้นแรงไฟฟ้าคือทิศทางของ
สนามไฟฟ้าที่จุดนั้นๆ  





        เส้นแรงแม่เหล็ก

เส้นแรงแม่เหล็กของแท่งแม่เหล็ก
เมื่อนำกระดาษแข็งวางบนแท่งแม่เหล็ก
โรยเศษผงเหล็กละเอียดบนกระดาษแล้วค่อยๆ
เคาะด้วยนิ้วเบาๆ ผงเหล็กจะเรียงตัวตามเส้น
แรงแม่เหล็กจากขั้ว N ไปขั้ว S อย่างสวยงาม
ดังรูปด้านบน  โดยในที่ที่มีเส้นแรงแม่เหล็ก
เราเรียกว่ามี สนามแม่เหล็ก   





 เส้นแรงแม่เหล็กรอบตัวนำ

 รูปด้านบนแสดงเส้นแรงแม่เหล็กที่เกิดขึ้น
รอบตัวนำที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน   ซึ่งมี
ลักษณะเป็นรูปวงกลม  โดยเส้นแรงแม่เหล็ก
มีทิศทางไปในทิศของการขันสกรูเกลียวขวา
เมื่อกระแสมีทิศทางพุ่งเข้าและจะไปในทิศ
การขันสกรูเกลียวซ้ายเมื่อกระแสพุ่งออก  

แม่เหล็กและสนามไฟฟ้าจากธรรมชาติ

Electric field.

สนามไฟฟ้าจากธรรมชาติ

สนามไฟฟ้าที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติบนโลกของเรานี้เป็นสนามไฟฟ้าสถิตที่ไม่มีการเปลี่ยนตามเวลา หรือ มีค่าเกือบคงที่ (Static Field หรือ DC Field) ซึ่งเกิดจากการถ่ายเทและรวมตัวกันของประจุไฟฟ้าในก้อนเมฆ และสนามไฟฟ้าบนโลกทำให้เกิดปรากฏการณ์ฟ้าผ่า          

สนามไฟฟ้าจากธรรมชาติบริเวณใกล้พื้นโลกขณะปกติจะมีค่าเฉลี่ยต่ำกว่า 200 โวลต์ต่อเมตร (200 V/m)และสนามไฟฟ้าจากธรรมชาตินี้อาจมีค่าสูงถึง 50,000 V/m ในช่วงเกิดปรากฏการณ์ฟ้าผ่า  



                                       สนามไฟฟ้าบนโลกทำให้เกิดปรากฏการณ์ฟ้าผ่า 



                         สนามแม่เหล็กจากธรรมชาติ

สนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติบนโลก หรือสนามแม่เหล็กโลก เกิดจากกระแสไฟฟ้าที่ไหลอยู่ในแกนของโลก  ซึ่งเป็นสนามแม่เหล็กสถิตมีค่าค่อนข้างคงที่ และไม่มีการเปลี่ยนแปลง (DC Field)     เราใช้ประโยชน์จากสนามแม่เหล็กโลกในการระบุ ทิศเหนือ/ทิศใต้    โดยเฉลี่ยสนามแม่เหล็กโลกมีค่าประมาณ 500 มิลลิเกาส์ (500 mG)


สนามแม่เหล็กบนโลกซึ่งเกิดจากกระแสไฟฟ้าที่ไหลในแกนโลก

แรงดันไฟฟ้าของระบบไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก

The voltage of the electrical and magnetic fields.

           ระบบไฟฟ้าแรงสูงของการไฟฟ้านครหลวงปัจจุบันจ่ายด้วยระบบแรงดันไฟฟ้าขนาดตั้งแต่ 12,000 โวลต์ 
24,000 โวลต์ 69,000 โวลต์ และ 115,000 โวลต์ เป็นส่วนใหญ่ และมีการจ่ายด้วยระบบ 230,000 โวลต์
อยู่บ้าง การเรียกระดับแรงดันไฟฟ้าของไฟฟ้า-แรงสูงมักจะเรียกเป็นหน่วยของพันโวลต์ว่า เควี (kV) 
หรือ กิโลโวลต์ (kilovolts) เช่น12,000 โวลต์ จะเรียกว่า 12 เควี หรือ 12 กิโลโวลต์ เป็นต้น
                ขนาดของสนามแม่เหล็กนั้นไม่สามารถคาดเดาได้จากแรงดันของระบบไฟฟ้า กล่าวคือ ไม่เสมอไป
ที่สายส่งไฟฟ้าระบบแรงดัน 69 เควี   จะสร้างสนามแม่เหล็กที่มีขนาดสูงกว่าระบบแรงดันต่ำ 220 โวลต์ นั่น
เป็นเพราะกระแสที่ไหลในสายไฟฟ้าเป็นตัวสร้างสนามแม่เหล็ก ไม่ใช่แรงดันไฟฟ้า ขนาดของสนามแม่เหล็ก
จะแปรผันโดยตรงกับขนาดกระแสไฟฟ้า นั่นหมายถึงระดับของสนามแม่เหล็กจะมีค่าเพิ่มขึ้นตามค่ากระแส
ไฟฟ้าที่ไหลในสายไฟฟ้า
 เครื่องมือวัด
ค่าสนามแม่เหล็ก





ประโยชน์ของสนามแม่เหล็กโลก ต่อสุขภาพ

บทบาท ประโยชน์ของสนามแม่เหล็กโลก ต่อสุขภาพ

            กายจิตของคนเรานี้ได้รับอิทธิพลจากสนามพลังของโลกและจักรวาล ตั้งแต่สนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และจักรราศีต่างๆ สนามแม่เหล็กโลกซึ่งยังเปลี่ยนแปรกับปรากฏการณ์ธรรมชาติเช่น แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด กระแสน้ำในมหาสมุทร คลื่นใต้น้ำและเหนือน้ำ อุณหภูมิของโลก พายุฝนฟ้า เป็นต้น

ท้ายที่สุดคลื่นที่คนเราประดิษฐ์ขึ้น คอมพิวเตอร์ หม้อแปลงไฟ เตาอบ ไดเป่าผม โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์กระทั่งเสียงดนตรี เพลง เสียงสวดมนต์ รวมไปถึงคลื่นข่าว คลื่นความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ การเมือง ความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง เหล่านี้คือ องค์รวมของสิ่งต่างๆที่ส่งผลกลับไปกลับมาต่อชีวิตจิตใจของคนเรา

 เป็นที่รู้กันว่า สิ่งมีชีวิตทั้งหลายรวมทั้งคนเราที่อาศัยอยู่บนโลกนี้ ต่างได้รับพลังงานชีวิตอยู่ตลอดเวลาจาก พลังชีวิตของโลก พลังนี้ก็คือสนามแม่เหล็กโลกนั่นเอง มันเป็นสนามพลังอ่อนๆที่เราได้รับอยู่ตลอดเวลา และถ้าเมื่อไหร่เราไม่ได้รับพลังนี้ ก็อาจเป็นเหตุให้เราป่วยเจ็บได้

คนเราไม่รู้จักความสำคัญของสนามแม่เหล็ก

จนกระทั่งนักบินอวกาศทั้งสหรัฐและรัสเซียเกิดอาการอ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตัว มึนหัว เมื่อทำงานอยู่ในอวกาศนาน
องค์การนาซ่าเริ่มสังเกตอาการนี้ได้ จากนักบินรุ่นแรกๆ ซึ่งต้องออกไปนอกโลกพ้นจากแรงดึงดูดของโลก ปรากฏอาการเหล่านี้เหมือนกัน เขาเรียกชื่อกลุ่มอาการนี้ว่า “โรคอวกาศ (space sickness)”
จนในที่สุดองค์การนาซา NASA จึงต้องสร้าง สนามแม่เหล็กเทียมขึ้นในสถานีอวกาศ
โดยให้สนามดังกล่าวมีความถี่ที่ 7.8 ครั้ง/วินาที ซึ่งเท่ากับสนามแม่เหล็กโลก [1]
“โรคอวกาศ” จึงหายไป
ขณะเดียวกัน ชุดอวกาศของรัสเซียยังได้ออกแบบให้ใส่แม่เหล็กไว้ตามจุดต่าง ๆ เพื่อรักษาสุขภาพของนักบินอวกาศด้วย  ( ข้อมูลเพิ่มเติมล่างสุด )

ในญี่ปุ่น นักวิจัยชื่อ ไคโออิชิ นาคากาวา พบว่า คนงานก่อสร้างตึกสูงที่ต้องใช้โครงเหล็กเป็นจำนวนมาก มักป่วยด้วยอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง นอนไม่หลับ เขาพบว่าโครงเหล็กที่เป็นแผ่นของตึก ทำหน้าที่เป็นฉนวน ที่กันเอาสนามแม่เหล็กโลกออกไปจากพื้นที่ภายในอาคาร เป็นผลให้คนงานเกิดอาการป่วยเจ็บได้
เมื่อสร้างตึกไปหลาย ๆ เดือนก็พบว่า คนงานเหล่านี้เกิดอาการอ่อนเพลีย ปวดเมื่อยเนื้อตัว
ปวดหัว ปวดข้อ โดยไม่ปรากฏสาเหตุ  อาการเหล่านี้ พบอีกในเวลา 30 ปีหลัง [2]
ประเด็นนี้เป็นเรื่องน่าคิดต่อไปว่า ทุกวันนี้ชาวสำนักงานทำงานอยู่ในตึกสูงเสียโดยส่วนมาก
อาการเจ็บป่วยจำนวนไม่น้อย อาจเกิดจากภาวะพร่องสนามแม่เหล็กโลกก็ได้



และเหตุฉะนี้เอง การพักผ่อนตากอากาศ พาตัวเองไปอยู่ในท่ามกลางภูเขา แม่น้ำ ทะเล จึงเปิดโอกาสให้คนเราได้รับการอาบไล้จากสนามแม่เหล็กโลก เพิ่มพลังชีวิตสำหรับการทำงานอันตรากตรำในวันต่อๆ ไป
และขณะเดียวกันการใช้อุปกรณ์ที่ให้สนามแม่เหล็กอ่อน ๆ แก่ร่างกายของคนที่เจ็บป่วยด้วยภาวะพร่องสนามแม่เหล็ก ก็จะพบว่าอาการป่วยเจ็บดีขึ้น
นักสัตววิทยายังสังเกตว่า สัตว์แต่ละชนิดรับรู้ต่อสนามแม่เหล็กโลกที่แตกต่างกัน นกพิราบสื่อสารสามารถหาทางบินกลับรังได้ ก็เพราะบางส่วนในสมองของมันรับรู้ต่อความเข้มจางของสนามแม่เหล็กโลกในจุดที่ แตกต่างกัน
มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งทดลองใช้เครื่องปล่อยสัญญาณวิทยุขนาดเล็กติดไว้ที่ หัวนกพิราบ สัญญาณดังกล่าวรบกวนการรับรู้สนามแม่เหล็กโลกของนกพิราบ ทำให้นกไม่สามารถบินกลับรังได้ ข้อคิดจากเรื่องนี้มีอยู่ว่า
คนสมัยนี้ขณะที่กำลังเดินทางกลับบ้าน แต่มัวหลงระเริงโทรศัพท์มือถือคุยกับแฟนอยู่ตลอดเวลา อาจถึงกับหลงทิศผิดทาง กลับบ้านไม่ถูกก็เป็นได้
ทีนี้มาถึงก้อนหินและแร่ธาตุบ้าง นักธรณีวิทยาเชื่อว่า สนามแม่เหล็กโลกเกิดขึ้นโดยเหล็กหลอมละลายที่เป็นลาวาอยู่ใต้พื้นโลก เมื่อภูเขาไฟระเบิดลาวาที่พุขึ้นแล้วเย็นตัวลงเป็นก้อนหินชนิดต่างๆ และกลายเป็นเปลือกโลกทีละชั้นๆ เปลือกโลกซึ่งก็ประกอบด้วยก้อนหินที่ปนธาตุเหล็กเหล่านี้จึงแฝงไว้ด้วยสนาม แม่เหล็กแรงบ้าง ค่อยบ้าง อยู่ภายในหินชั้นต่างๆ เหล่านี้ ขณะเดียวกันสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ซึ่งวิวัฒนาการมาควบคู่กับกำเนิดของ โลก ต่างก็มีอิทธิผลของสนามแม่เหล็กโลกแฝงอยู่ในทุกๆ อณูของชีวิตอยู่ด้วย
นี่เป็นคำอธิบายว่าทำไมนกพิราบจึงรับรู้สนามแม่เหล็กได้
เหตุเพราะว่าในสมองบางพื้นที่ของนก ปรากฏมีแร่ธาตุแมกเนไตต์อยู่มากเป็นพิเศษ


และงานวิจัยในระยะหลังก็พิสูจน์ด้วยว่า สมองของคนเราก็มีแมกเนไตต์อยู่ใน พื้นที่บางส่วน รวมทั้งที่ต่อมหมวกไตด้วย ตรงนี้เป็นข้อสันนิษฐานด้วยว่า นักเพ่งพลังจิตบางคนที่สามารถใช้ไม้รูปตัววาย หาแหล่งน้ำใต้ดินได้ก็อาศัยแมกเนไตต์ในสมองบางส่วน
และความสามารถนี้จะหมดไปทันทีถ้าให้เขาสวมหมวกและปิดพื้นที่ต่อมหมวกไตด้วย เครื่องป้องกันสนามแม่เหล็ก

ความรู้ต่อมาว่าด้วยสนามแม่เหล็กกับสิ่งมีชีวิตยังพบอีกด้วยว่า
ทิศทางและการหันขั้วของสนามแม่เหล็ก มีผลที่แตกต่างกันต่อการเจริญเติบโตและการเผาผลาญภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต

นักวิทยาศาสตร์ได้ทดลองปลูกเมล็ดข้าวรายด้วยการวางเมล็ดตามยาว และตามขวางต่อสนามแม่เหล็กโลกแล้วพบว่า เมล็ดที่วางไว้ให้ทอดตัวตามแนวเหนือ ใต้สามารถงอกและเติบโตดีกว่าเมล็ดที่ ถูกวางไว้ตามขวาง

ความรู้ละเอียดกว่านั้นยังพบอีกว่า ความเข้มจางของสนามแม่เหล็กโลกแปรเปลี่ยนตามแต่ละสถานที่
ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับโครงสร้างของเปลือกโลกในแต่ละแห่งที่แตกต่างกัน รวมทั้งปริมาณแร่ธาตุใต้พื้นดินแต่ละแห่งที่แตกต่างกันด้วย
นักธรณีวิทยาพบว่าสนามแม่เหล็กโลกที่อเมริกาหรือรัสเซียมีความเข้มกว่า สนามแม่เหล็กโลกที่บราซิล
สนามแม่เหล็กยังเปลี่ยนแปรตามช่วงเวลาอีก ด้วย เวลากลางคืนสนามแม่เหล็กโลกจะเข้ม กว่าเวลากลางวัน สาเหตุเพราะอิทธิพลของดวงอาทิตย์ ยามกลางวันพื้นโลกส่วนนั้นหันเข้าหาดวงอาทิตย์ แรงจากดวงอาทิตย์ทำให้สนามแม่เหล็กโลกไม่อาจเปล่งพลังสู่พื้นโลกเท่าที่ควร ยามกลางคืนพื้นโลกส่วนนั้นหันออกจากดวงอาทิตย์ แรงสนามแม่เหล็กโลกจึงเปล่งพลังสู่พื้นโลกได้เต็มที่
และเนื่องจากสนามแม่เหล็กโลกช่วยจรรโลงสุขภาพ
ดังนั้น การนอนกลางคืนร่างกายมีโอกาส “ชาร์จพลัง” เพิ่มขึ้น ทำให้ตื่นด้วยความสดใสกระปรี้กระเปร่า
ส่วนการนอนกลางวันร่างกายมีโอกาส “ชาร์จพลัง” ได้น้อยกว่า และใครที่ทำงานกลางคืนนอนกลางวัน สุขภาพจึงมักจะโทรมเร็ว
วัยรุ่นวัยหวานโปรดฟังทางนี้ การนอนดึกๆ เล่นเน็ต ไม่หลับไม่นอนนั้น โทรมเร็วสุดสุดเด้อ…สิบอกไห่
สนามแม่เหล็กโลกโดยปกติจะสั่นสะเทือนด้วยความถี่ 7.8 รอบ/วินาที
ขณะเดียวกันยังมีการสั่นสะเทือนขนาดจิ๋วที่แปรเปลี่ยนอยู่ในระหว่างคลื่น สั่นสะเทือนพื้นฐานอีกด้วย มันมีขนาด 1 รอบจนถึง 25 รอบ/วินาที
นักธรณีวิทยายังตั้งข้อสังเกตด้วยว่าความเข้มของสนามแม่เหล็กโลกแปร เปลี่ยนเป็นวัฏจักรคือลดลงและเพิ่มขึ้น ทั้งนี้โดยมีรอบระยะของการลดและการเพิ่มรอบละ 500,000 ปี และโลก ณ ขณะนี้อยู่ในระยะที่ความเข้มกำลังลดลง จากขนาดความเข้ม 4 เกาส์ เหลือเพียง 0.4-0.5 เกาส์ในปัจจุบัน เขารู้เรื่องนี้ได้โดยเก็บตัวอย่างของฟอสซิลอายุต่างๆ กันมาเทียบปริมาณความเข้มของสนามแม่เหล็กที่แฝงอยู่ในฟอสซิลเหล่านี้
สมมติฐานจึงมีอีกว่า ปัจจัยอะไรก็ตามที่ไปลดความเข้มสนามแม่เหล็กโลก จะไม่ดีต่อสุขภาพ
และปัจจัยที่เพิ่มสนามแม่เหล็กโลกที่มีต่อตัวเรา ด้วยความเข้มที่พอประมาณ จะช่วยจรรโลงสุขภาพ



            และตรงนี้เองเกิดมีข้อสันนิษฐานเพิ่มเติมว่า ศาสตร์โบราณว่าด้วยการจัดทิศทางของอาคารบ้านเรือน ประตู หน้าต่าง การตกแต่งด้วยต้นไม้ สระน้ำ และก้อนหินในบ้านหรือสำนักงาน ที่เรารู้จักกันในนาม “เฟิงสุ่ย Fengshui” หรือ “ฮวงจุ้ย” นั้น น่าจะมีอิทธิพลต่อสนามพลังของแม่เหล็กโลก
ข้อสงสัยมีว่า เพียงแค่ก้อนหิน ต้นไม้ คอนกรีต จะไปมีแรงเหนี่ยวนำอะไรต่อสนามแม่เหล็กโลก จะเข้าใจเรื่องนี้ได้ต้องรู้จักเรื่องของปฐพีวิทยา เขาแบ่งสิ่งต่างๆ ที่ไม่ได้เป็นโลหะ ออกตามคุณสมบัติทางแม่เหล็กออกเป็น ไดอาแมกเนติก (diamagnetic) คือสารที่ถูกปฏิเสธหรือผลักดันโดยพลังแม่เหล็กแรงๆ และ
สารพาราแมกเนติก (paramagnetic) มีคุณสมบัติที่ถูกดูดดึงได้โดยสนามแม่เหล็กแรงๆ ชนิดหลังนี้ได้แก่ แกรนิต ดิน หินทราย ซึ่งล้วนเป็นวัสดุก่อสร้างแต่ครั้งโบราณจนปัจจุบัน สารพาราแมกเนติกแม้จะไม่ได้กลายเป็นแม่เหล็กในตัวมันเองได้เหมือนเหล็กหรือ โคบอลต์ แต่มันก็ยอมรับและดูดซับพลังแม่เหล็กระดับหนึ่ง และวัสดุก่อสร้างเหล่านี้มีผลต่อคน สัตว์ และพืชที่อาศัยอยู่ในอาคารสิ่งก่อสร้างเหล่านี้


                นี่คือความลับของสิ่งก่อสร้างโบราณนับตั้งแต่พีระมิดหรือแท่งหินโอ เบลิสก์ของอียิปต์ สโตนเฮนช์ ในอังกฤษ สุสานซื่อซานหลิงในจีน รวมถึงตึกกลมในไอร์แลนด์ ซึ่งมีชื่อเสียงมากในแง่ของสนามพลัง และมีงานวิจัยที่สนุกสนานมากว่าด้วยสนามพลังเหล่านี้


แม่เหล็กไฟฟ้า หมายถึงอะไร


แม่เหล็กไฟฟ้า
             (Electromagnets) หมายถึง อำนาจแม่เหล็กที่เกิดจากการที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านในวัตถุตัวนำหมายความว่าถ้าปล่อยให้ กระแสไฟฟ้าไหลในวัตถุตัวนำจะทำให้เกิด สนามแม่เหล็กรอบ ๆ ตัวนำนั้น


     
        

              เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเส้นลวดตัวนำ จะเกิดเส้นแรงแม่เหล็กขึ้นรอบๆ เส้นลวดตัวนำนั้น แต่อำนาจแม่เหล็กที่เกิดขึ้นมีเพียงจำนวนเล็กน้อย ซึ่งไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ การจะเพิ่มความเข้มของสนามแม่เหล็ก ทำได้โดยการนำเส้นลวดตัวนำมาพันเป็นขดลวด เส้นแรงแม่เหล็กที่เกิดในแต่ละส่วนของเส้นลวดตัวนำจะเสริมอำนาจกัน ทำให้มีความเข็มของสนามแม่เหล็กเพิ่มขึ้น

ความเข้มของสนามแม่เหล็กไฟฟ้า จะขึ้นอยู่กับส่วนประกอบต่างๆ ดังนี้

  1. จำนวนรอบของการพันเส้นลวดตัวนำ การพันจำนวนรอบของเส้นลวดตัวนำมากเกิดสนามแม่เหล็กมาก ในทางกลับกันถ้าพันจำนวนรอบน้อยการเกิดสนามแม่เหล็กก็น้อยตามไปด้วย
  2. ปริมาณการไหลของกระแสไฟฟ้า ผ่านเส้นลวดตัวนำ กระไฟฟ้าไหลผ่านมากสนา ม แม่เหล็กเกิดขึ้นมาก และถ้ากระแสไฟฟ้าไหลผ่านน้อยสนามแม่เหล็กเกิดน้อย
  3. ชนิดของวัสดุที่ใช้ทำแกน ของแท่งแม่เหล็กไฟฟ้า วัสดุต่างชนิดกันจะให้ความเข็มของสนามแม่เหล็กต่างกัน เช่น แกนอากาศจะให้ความเข็มของสนามแม่เหล็กน้อยกว่าแกนที่ทำจากสารเฟอโรแมกเนติก (Ferromagnetic) หรือสารที่สามารถเกิดอำนาจแม่เหล็กได้ เช่น เหล็ก เฟอร์ไรท์ เป็นต้น สารเหล่านี้จะช่วยเสริมอำนาจแม่เหล็กในขดลวดทำให้มีความเข็มของสนามแม่เหล็ก มากขึ้น
  4. ขนาดของแกนแท่งแม่เหล็กไฟฟ้า แกนที่มีขนาดใหญ่จะให้สนามแม่เหล็กมาก ส่วนแกนที่มีขนาดเล็กจะให้สนามแม่เหล็กน้อย 
ประโยชน์ของแม่เหล็กไฟฟ้า (Applications of electromagnets)

               แม่เหล็กไฟฟ้ามีประโยชน์มากมาย ใช้หลักการที่แม่เหล็กดูดแผ่นโลหะเมื่อว่างวงจรปิดซึ่งเป็นการเปลี่ยน พลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกล เช่นพลังงานเสียง

               ออดไฟฟ้า เป็นอุปกรณ์ที่ทำให้เกิดเสียงจากกระแสตรง แผ่นโลหะจะถูกดูดโดยแม่เหล็กไฟฟ้า ทำให้จุดสัมผัสแยกออก มีผลให้กระแสที่เข้ามายังแม่เหล็กไฟฟ้าหยุดไหล ดังนั้นแผ่นโลหะจึงดีดกลับ เกิดขึ้นเช่นนี้เรื่อยๆ มีผลให้แผ่นโลหะสั่นเกิดเสียงออตขึ้น ในกระดิ่งไฟฟ้ามีค้อนติดกับแผ่นโลหะใกล้กับกระดิ่งเมื่อแผ่นโลหะสั่นค้อนก็ จะเคาะกระดิ่ง


           ปั้นจั่น เป็นการประยุกต์ใช้หลักการของแม่เหล็กไฟฟ้าไปใช้เป็นเครื่องมือสำหรับยกของ จำพวกโลหะ ใช้สำหรับดูดเศษเหล็กจากเศษโลหะอื่นๆ เมื่อต้องการใช้ก็เปิดสวิทช์ ทำให้เหล็กที่เป็นแกนของขดลวดเป็นแม่เหล็กดูดเศษเหล็กได้ และเมื่อใช้เสร็จก็ปิดสวิทช์ แกนเหล็กก็จะไม่เป็นแม่เหล็ก ปล่อยเศษเหล็กให้หลุดลงมา

             หูฟัง เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เปลี่ยนสัญญานไฟฟ้าเป็นคลื่นเสียง ใช้แม่เหล็กถาวรดูดแผ่นไดอะแฟรม ความแรงของแรงดึงดูดเปลี่ยนไปตามการเปลี่ยนแปลงกระแสไฟฟ้าในขดลวดแม่เหล็ก ไฟฟ้า แผ่นไดอะแฟรมจะสั่นทำให้เกิดเสียง

 

             รถไฟความเร็วสูง เป็นรถไฟที่มีแม่เหล็กไฟฟ้าติดอยู่ข้างใต้ซึ่งเคลื่อนที่ ไปบนรางที่มีแม่เหล็กไฟฟ้า แม่เหล็กผลักซึ่งกันและกันทำให้รถไฟลอยเหนือราง เป็นการลดแรงเสียดทานระหว่างรถไฟและราง ทำให้เคลื่อนที่ได้เร็วขึ้น